วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการทำงานหรือโพรซีเดอร์ (Procedure)


      กระบวนการทำงาน (โพรซีเดอร์ : Procedure) หมายถึง ขั้นตอนที่ บุคลากร (พีเพิลแวร์ : peopleware) จะต้องทำเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ตามจุดประสงค์ของบุคลากรที่จะใช้งาน ซึ่งบุคคลากรต้องรู้กระบวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในส่วนที่ตนเองต้องใช้ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เช่น บุคลากรประเภทผู้ใช้ต้องการเข้าบล็อกไอที ๑ ย่อหน้า เพื่อศึกษาความรู้ ก็จะต้องรู้วิธีใช้งานโปแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser)เพื่อเข้าถึงบล็อก มีขั้นตอนดังนี้
กระบวนการทำงาน (Procedure) สำหรับเข้าชมบล็อก

1.เปิดโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
2.พิมพ์ที่อยู่ของบล็อคคือ http://it1yorna.blogspot.com/
3.เข้าชมบทความและสาระน่ารู้ต่างๆโดยการคลิกการเชื่อมโยงหรือลิงค์(Link)

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บุคลากรหรือพีเพิลแวร์ (PeopleWare)


      บุคลากร (พีเพิลแวร์ : peopleware) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงาน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ อย่าง เราๆ ท่านๆ ก็นับว่าเป็น พีเพิลแวร์เช่นกัน เพราะเราสามารถเข้าบล็อกไอที 1 ย่อหน้า ด้วยจุดประสงค์เพื่อรับความรู้และความบันเทิงได้นั่นเอง ^^
พีเพิลแวร์ : peoplewareบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงาน

เราก็สามารถแบ่งกลุ่มประเภทของพีเพิลแวร์ได้ตามความสามารถและหน้าที่จำแนกได้ดังนี้ 
1.ผู้จัดการระบบหรือซิสเต็มเมเนเจอร์ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน ถ้าเป็นโรงเรียนก็คือ ผอ. ถ้าเป็นร้านค้าก็คือเจ้าของร้าน (พูดง่ายๆ ใหญ่สุด จบปะ)
2.นักวิเคราะห์ระบบหรือซิสเต็มอนาไลต์ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานและทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน ถ้าเป็นโรงเรียนคนนี้คือรองผอ. ทำหน้าที่ดูแลส่วนย่อยที่รับผิดชอบ ถ้าเป็นร้านค้าก็ผู้จัดการแผนกต่างๆ (พูดง่ายๆใหญ่รองมาจากข้อ1.)
3. ผู้พัฒนาโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ถ้าเป็นโรงเรียนก็คือครูที่ทำหน้าที่สอนนักเรียน ถ้าเป็นร้านค้าก็คือคนที่เรียงของ ขายของ (พูดง่ายๆ ชนชั้นแรงงาน เครปะ)
4. ผู้ใช้หรือยูสเซอร์ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นโรงเรียนก็คือนักเรียน ร้านค้าก็คือลูกค้า (ไม่ต้องคิดไรเรียนไป และก็ใช้สินค้าไปนั่นเอง)
ระดับความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบของพีเพิลแวร์

จากการจำแนกกลุ่มพีเพิลแวร์จำแนกเพื่อบอกว่าหน้าที่ ความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบของพีเพิลแวร์แต่ละกลุ่ม ผู้จัดการระบบ ก็จะต้องเก่งที่สุดเพราะต้องรับผิดชอบมากที่สุด และก็ลดหลั่นกันลงมาดังนั้นถ้าผู้ใช้มีการพัฒนาตนเองก็จะสามารถยกระดับตนเองไปเป็น โปรแกรมเมอร์หรือพีเพิลแวร์ระดับสูงได้

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ซอร์ฟแวร์(Software)

      ซอร์ฟแวร์คือ โปรแกรม(program)หรือชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง(นามธรรม) ที่เราๆเรียกกันจนติดปากว่าโปรแกรมนั่นแหละครับ ปัจจุบันมีจำนวนมากมายและใช้งานแตกต่างกันออกไปตามแต่จุดประสงค์ของโปรแกรมนั้น เช่น Microsoft word ใช้สร้างงานเอกสาร chrome ใช้เข้าเว็บไซต์ เป็นต้น ฮาร์ตแวร์ และ ซอร์ฟแวร์ เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกันตลอด เนื่องจากอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีโปรแกรมต่างๆเป็นตัวควบคุมและคอยติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ ถ้าเราเปิดคอมพิวเตอร์แล้วไม่มีหรือไม่พบวินโดว์( Microsoft Window) พบแต่หน้าจอดำๆขาวๆ ท่านก็คงจะทำอะไรไม่ได้ใช่ไหมละครับ ทำให้ปัจจุบันเมื่อพูดถึงคอมพิวเตอร์ เราจะหมายรวมถึง ฮาร์ตแวร์รวมกับซอร์ฟแวร์ (The Computer is mean Hardware and Software)ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
ฮาร์ตแวร์รวมกับซอร์ฟแวร์ ต้องทำงานร่วมกัน

ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือโปรแกรมที่ทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน มี 3 ประเภท 
  • ระบบปฏิบัติการหรือโอเปอเรติงซิสเต็ม (Operating System)
  • โปแกรมแปลภาษาหรือคอมไพล์เลอร์ (Compiler)
  • โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือยูทิลิตีโปรแกรม(Utility Program)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล ความบันเทิง เป็นต้น มี 2 ประเภท
  • ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน หรือ สเปคซิฟิกซอฟต์แวร์(Specific software)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือเจ็นเนอรอลซอฟต์แวร์ (general Software)
ประเภทของซอฟต์แวร์

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครื่องพิมพ์ (Printer)

      เครื่องพิมพ์หรือพริ้นเตอร์(Printer) เป็นฮาร์ตแวร์คอมพิวเตอร์(Computer Hardware)ในหน่วยแสดงผล(Output Unit)ใช้สำหรับแสดงผลออกมาในรูปแบบของการพิมพ์โดยวัสดุที่ใช้พิมพ์นั้นก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทของเครื่องพิมพ์ จะขอแนะนำประเภทที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปดังนี้ 

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer หรือ Toner-based printers)

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ มีคุณสมบัติให้พิจารณาดังนี้ 

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer หรือ Toner-based printers)

  • คุณภาพของานดีมาก คมชัดสูง
  • อัตราการพิมพ์เร็วมาก (เร็วที่สุดในเครื่องพิมพ์ทุกประเภท)
  • ราคาสูง (ราคาสูงที่สุดด้วยเช่นกัน)

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers)
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กลงบนพื้นผิวที่พิมพ์โดยหยดหมึกจะถูกประมวลผลให้หยุดลงในตำแหน่งที่แม่นยำจนเกิดเป็นรูปที่ต้องการ มีคุณสมบัติให้พิจารณาดังนี้ 
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers)
  • คุณภาพของานดี คมชัดพอใช้ได้
  • อัตราการพิมพ์พอใช้ (ช้ากว่าเลเซอร์)
  • ราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับผลงาน (คุ้มค่านั่นเอง)
  • แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet printers) http://it1yorna.blogspot.com/2013/05/inkjet-printers.html
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ โดยใช้หัวหัวเข็มกระแทกแผงหมึกให้ชนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา 
  • คุณภาพแค่เพียงพอเห็นเป็นรูปร่างได้เท่านั้น(กากมาก)
  • อัตราการพิมพ์ช้า (ช้าที่สุด)
  • เสียงดังสนั่นหวันไหวเลยทีเดียว
  • จำเป็นต้องใช้ในธุรกิจเนื่องจากเป็นเครื่องพิมพ์ประเภทเดียวที่สามารถสร้างสำเนาด้วยกระดาษคาร์บอน(กระดาษก๊อปปี๊)ได้

แนวทางการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์พ่นหมึกหรืออิงค์เจ็ท(Inkjet printers)

      เครื่องพิมพ์หรือพริ๊นเตอร์(Printer) มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ที่ราคาถูกและคุณภาพพอใช้ได้ก็คือเครื่องพิมพ์ประเภท พ่นหมึกหรืออิงค์เจ็ท(Inkjet printers) ซึ่งปัจจุบันมีการแข็งขั้นกันสูงมากในผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ทุกค่ายจึงมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและลดราคาลงสวนทางกันคุณภาพจึงเป็นเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับนักเรียน นักศึกษา จนถึงผู้ใช้ทั่วไป อย่างไรก็ตามก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันของตลับหมึก(ink Cartridge)ดังนี้

หัวพ่นติดกับตลับหมึก ( Nozzle built in Cartridge)

คือพริ๊นเตอร์(Printer)อิงค์เจ็ท(Inkjet) ที่ออกแบบมาให้หัวพ่นและตลับน้ำหมึกอยู่ด้วยกันมีข้อดีข้อด้อยดังนี้


หัวพ่นติดกับตลับหมึก ( Nozzle built in Cartridge)


  • ค่าตลับหมึกจะแพงกว่าเนื่องจากคิดราคาทั้งหัวพ่นและน้ำหมึกรวมกัน (เปลี่ยน 2 ชุดราคาซื้อเครื่องพิมพ์ใหม่ได้เลย)
  • เมื่อเปลี่ยนตลับก็จะเหมือนเปลี่ยนเครื่องพิมพ์ใหม่เนื่องจากได้หัวพ่นมาใหม่โดยเครื่องพิพม์เดิมยังใช้งานได้ปกติ
  • ติดแทงค์หมึกแล้วใช้งานได้คุ้มค่ามากกว่า 
หัวพ่นติดกับตัวเครื่องNozzle built in Printer)
คือพริ๊นเตอร์(Printer)อิงค์เจ็ท(Inkjet) ที่ออกแบบมาให้หัวพ่นติดอยู่กับตัวเครื่องพิมพ์โดยแยกตลับใส่หมึกออกจากหัวพ่น ทำให้ตลับหมึกนั้นมีแต่น้ำหมึกอย่างเดียวมีข้อดีข้อด้อยดังนี้
หัวพ่นติดกับตัวเครื่องNozzle built in Printer)
  • ค่าตลับหมึกจะถูกเนื่องจากตลับหมึกมีแต่น้ำหมึกอย่าเดียว
  • เมื่อหัวพ่นที่ติดอยู่กับเครื่อง ถ้าหัวพ่นเสียจะต้องซื้อเครื่องใหม่ แต่ตลับหมึกยังใช้ได้
  • ถ้าติดแทงค์เมื่อหัวพ่นเสีย ก็จะต้องเสียค่าติดตั้งแทงค์ใหม่ (ร้านติดแทงค์โก่งราคาย้าแทงค์ยังไงเราก็ต้องซื้อใหม่)


วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

USB 3.0 (ยูเอสบี สามจุดศูนย์) มีดีอย่างไร ?


      เราท่านทั้งหลายคงจะรู้จักพอร์ต (Port) ยูเอสบี (USB) กันแล้ว แต่ถ้ายังนึกไม่ออก ก็นึกถึงช่องหรือพอร์ตสำหรับเสียบแฮนดีไดร์ฟ (handy drive) นั่นแหละครับ ซึ่ง USB ย่อมาจาก Universal Serial Bus เป็นช่องสำหรับสื่อสารข้อมูลที่เป็นที่นิยมใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่ที่เราใช้กันอยู่เป็นรุ่นหรือเวอร์ชัน(version) 2.0 และรุ่นล่าสุดคือ USB3.0 ออกมาเมื่อปี 2007 และสามารถหาซื่อได้แล้วในบ้านเรา ณ ตอนนี้ เรามาดูว่า USB3.0 มีข้อดีอย่างไร

  • ความเร็วในการรับ - ส่ง ข้อมูลเร็วกว่า USB2.0 ถึง 10 เท่า (ตามหลักการ แต่ที่จริงไม่ถึงแค่ใกล้เคียง)
  • สามารถอ่าน - เขียนข้อมูลได้พรอ้มกัน ต่างจาก USB2.0 ที่อ่านหรือเขียนได้ที่ละอย่าง ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นอีก 
  • ประหยัดพลังงานกว่า อธิบายง่ายๆประมาณว่าถ้าเราชาร์ทโทรศัพท์กับ USB3.0 จะทำให้แบทเต็มเร็วกว่า USB2.0 นั่นเอง
  • สามารถใช้กับ USB2.0 อันเดิมได้ทำให้ไม่มีปัญหากับอุปกรณ์เดิม ทำให้เรามีต้องคิดมากกับการซื้ออุปกรณ์

พอร์ต USB3.0 สังเกตได้ว่าจะเป็นสีฟ้า


ผมจึงอยากจะแนะนำการซื้อหาอุปกรณ์ 2 อย่าง ณ ตอนนี้ที่ควรจะดูด้วยว่าเป็น USB 3.0 ส่วนอุปกรณ์อื่นผมคิดว่ายังไม่น่าจะส่งผลเท่าไร "แต่ถ้าใครยังไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ก็ไม่ต้องนะครับ ประหยัดไว้ดีกว่า" อย่างแรกคือ เอ็กเทอนอล ฮาร์ตดิสก์ (external harddisk) และ เฟรสไดร์ฟ (flash drive) เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวเรา และเป็นปัญหามากเวลาโอนถ่ายไฟล์ ถ้าเป็น USB3.0 จะทำให้ก๊อปปีงานได้เร็วขึ้นมาก (จากที่เคยใช้เวลา 30 นาที จะเหลือเพียง 3 นาที )โดยเฉพาะไฟล์ขนาดใหญ่เช่น ไฟล์มัลติดมีเดีย ภาพยนต์ โปรแกรม เป็นต้น


เอ็กเทอนอล ฮาร์ตดิสก์ (external harddisk) และ เฟรสไดร์ฟ (flash drive) 

ฮาร์ตแวร์คอมพิวเตอร์ (Computer Hardware)


      ฮาร์ตแวร์ (hardware) คือ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องของคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถจับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ชิ้นใหญ่อย่าง เคส(case) จอภาพ (มอนิเตอร์:monitor) ไปจนถึงอุปกรณ์ชิ้นเล็กอย่าง ไอซี(IC)หรือชิป(Chip) หากสามารถจับต้องได้นับเป็นฮาร์ตแวร์ทั้งสิ้น
ฮาร์ตแวร์ (hardware)  อุปกรณ์และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้ 

การทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Computer hardware working) มีหลักการทำงานเป็นขั้นตอนอยู่คือ รับค่า(อินพุต : Input)  >> ประมวลผล (โปรเซส : Process)  >> แสดงผล (เอาท์พุต : Output) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นจึงเพิ่ม หน่วยความจำ (เมมเมอรี : Memory) เข้ามาเพื่อสนับสนุนการทำงานของการประมวลผล ฮาร์ตแวร์ต่างๆก็จะถูกจัดกลุ่มตามลักษณะการทำงาน เรียกรวมกันว่าหน่วย (ยูนิต : Unit ) จัดได้ 4 หน่วยตามลักษณะการทำงาน คือ 
1. หน่วยรับค่า(อินพุตยูนิต : Input Unit)
2. หน่วยประมวลผล(โปรเซสยูนิต : Process Unit)
3. หน่วยความจำ(เมมเมอรี ยูนิต : Memory Unit) แบ่งได้เป็น 
     -  หน่วยความจำหลัก (เมนเมมเมอรี : Main Memory) 
     -  หน่วยเก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory : เซคันดารี เมมเมอรี)
4. หน่วยแสดงผล (เอาพุต ยูนิต : Output Unit)
การทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Computer hardware working) 

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความหมายและองค์ประกอบ

      คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง "เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถประมวลผลข้อมูล คิดคำนวณ ตัดสินใจ และ แก้ปัญหาได้ อย่างเป็นระบบและอัตโนมัติ" คำว่าคอมพิวเตอร์มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Computare หมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" และให้คำแปลในภาษาไทยว่า "คณิตกรณ์"
คอมพิวเตอร์ (Computer) หรือ คณิตกรณ์
      
คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล แก้ปัญหาตามลักษณะการใช้งาน คอมพิวเตอร์จะทำงานเป็นระบบร่วมกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประมวลผลได้ถูกต้องและแม่นยำ โดยคอมพิวเตอร์นั้นจะทำงานเป็นระบบ (ซิสซ์เตม : System) องค์ประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทสำคัญให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าขาดองค์ประกอบใดไปคอมพิวเตอร์ก็ยังคงสามารถทำงานได้ก็ตาม แต่ก็จะขาดประสิทธิภาพ โดยองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มี 5 หน่วยสำคัญ

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1. บุคลากร (พีเพิลแวร์ : peopleware) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงาน 
2. ข้อมูล (เดต้า หรือ ดาต้า : data) หมายถึง  ตัวอักษร ข้อความ รูปภาพ สิ่งต่างๆที่เราใส่เข้าไป (อินพุต :input) ในคอมพิวเตอร์ และ รับออกมา (เอาท์พุต : output)
3.  ฮาร์ตแวร์ (hardware) คือ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องของคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถจับต้องได้
4. ซอร์ฟแวร์(Software)คือ โปรแกรม(program)หรือชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
5. กระบวนการทำงาน (โพรซีเยอร์ : Procedure) หมายถึง ขั้นตอนที่ บุคลากร (พีเพิลแวร์ : peopleware) จะต้องทำเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ตามจุดประสงค์ของบุคลากรที่จะใช้งาน

ลักษณะการทำงาน
การทำงานร่วมกันขององค์ประกอบต่างๆจะมี กระบวนการทำงาน (โพรซีเยอร์ : Procedure) เป็นเครื่องมือที่ใช้กำหนดขั้นตอนการทำงานโดยบุคลากร (พีเพิลแวร์ : peopleware) จะส่งข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ฮาร์ตแวร์ (hardware)และซอร์ฟแวร์(Software)จะทำงานร่วมกันประมวลผลข้อมูลและส่งผลลัพธ์กลับมาให้บุคลากร (พีเพิลแวร์ : peopleware)เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ดังรูป
องค์ประกอบของคอมพิวเอตร์และการทำงาน